Skip to content
Home » EP16 ปิดบัญชี และสรุปวงจรบัญชี | ตัวอย่างการปิดงบบัญชี

EP16 ปิดบัญชี และสรุปวงจรบัญชี | ตัวอย่างการปิดงบบัญชี

EP16 ปิดบัญชี และสรุปวงจรบัญชี


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

EP16 ปิดบัญชี และสรุปวงจรบัญชี

“เติบโตตลอดชีวิต” l เกษียณอย่างมีความสุข l บทความโดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร


เติบโตตลอดชีวิต l บทความโดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
Podcast By: KhunPaMao
https://anchor.fm/khunpamao
พบกับ \”ตัวจริงเสียงจริง\” ของคุณป้าเม่าได้ที่รายการ The Money Growth @THE STANDARD PODCAST
https://youtu.be/uLtRlfwjm4
เติบโตตลอดชีวิต เกษียณอายุทำอะไรดี บทความโดยดรนิเวศน์

“เติบโตตลอดชีวิต” l เกษียณอย่างมีความสุข l บทความโดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

สอนวิธีล้างแบล็คลิสต์ เครดิตบูโร ลบประวัติเน่า ต้องทำอย่างไร? #รอดไปด้วยกัน


สำหรับคนที่วางแผนกู้เงินซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือทำบัตรเครดิต มักจะได้ยินคำว่า เครดิตบูโร ซึ่งหลายคนก็ไม่เข้าใจว่าคำนี้หมายถึงอะไร วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกัน
เครดิตบูโร หรือบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ. 2541 หลังวิกฤติต้มยำกุ้ง เป็นองค์กรกลางสำหรับเก็บบันทึกข้อมูลทางการเงินและประวัติการชำระหนี้ของคนแต่ละคน เปรียบเทียบง่ายๆก็คล้ายกับสมุดพกรายงานข้อมูลทางด้านการเงิน พฤติกรรมการใช้และการชำระสินเชื่อของแต่ละคนนั่นเอง
โดยข้อมูลส่งมาจากสถาบันการเงิน มีการจัดเก็บแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.ข้อมูลบ่งชี้ ที่แสดงถึงตัวตนของเรา เช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด สถานภาพ อาชีพ เลขบัตรประชาชน คือข้อมูลของเราที่แจ้งกับสถาบันการเงิน และ
2.ข้อมูลสินเชื่อ ข้อมูลการอนุมัติรวมทั้งประวัติการชำระ เช่น ทำบัตรเครดิตมากี่ใบ ขอสินเชื่อรถมากี่คัน ขอสินเชื่อบ้านมากี่หลัง วงเงินที่ได้รับ สถานะบัญชี รายละเอียดการชำระหนี้ว่ามีการค้างชำระหนี้หรือไม่
โดยข้อมูลจะเก็บไว้ในระบบได้ไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่สมาชิกรายงานข้อมูลมายังเครดิตบูโร โดยที่จะมีข้อมูลใหม่เข้าไปแทนที่ข้อมูลเก่าเรื่อยๆ ส่วนการอัพเดดข้อมูลนั้น สถาบันการเงินจะรายงานประวัติการชำระของคุณเข้ามาที่บริษัทฯ ทุกๆ สิ้นเดือน พูดง่ายๆว่า เมื่อคุณจ่ายหนี้ที่ค้างหมดแล้ว ภายหลัง 1 เดือนสถานะบัญชีของคุณจะถูกเปลี่ยนเป็นปิดบัญชี และเครดิตบูโรจัดเก็บข้อมูลนี้ไว้อีกไม่เกิน 3 ปี เมื่อครบ 3 ปี บัญชีบัตรเครดิตดังกล่าวก็จะถูกลบออกไปจากฐานข้อมูลเครดิตบูโร โดยอัตโนมัติ
ทั้งนี้ เครดิตบูโรจึงมีหน้าที่จัดเก็บรักษารวบรวมข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าสถาบันการเงิน ตามที่สถาบันการเงินจัดทำให้เท่านั้น มิได้มีหน้าที่ขึ้นบัญชีดำ หรือ แบล็คลิสต์ อย่างที่หลายๆคนเข้าใจกัน และเครดิตบูโรไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีสิทธิอนุมัติหรือร่วมตัดสินใจให้สินเชื่อกับใครทั้งนั้น
ที่เรามักได้ยินว่า ติดเครดิตบูโร ถูกขึ้นบัญชีดำ นั้นไม่มีอยู่จริง แต่เป็นแค่คำเรียกติดปากของคนที่มีประวัติการเงินไม่ค่อยดี ค้างหนี้ ความจริงแล้วเครดิตบูโร จะแสดงว่าคนนี้มีหนี้สินอะไรอยู่บ้าง แล้วมีประวัติการชำระเงินเป็นอย่างไร ส่วนการพิจารณาว่าจะให้สินเชื่อผ่านหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินเท่านั้น ซึ่งแต่ละแห่งก็มีดุลยพินิจที่แตกต่างกัน บางแห่งอาจไม่อนุมัติ บางแห่งอาจอนุมัติก็ได้
ทั้งนี้ในข้อมูลเครดิตจะมีตัวเลขบอกสถานะการชำระหนี้ เป็นตัวเลขต่างๆ เช่น
10 หมายถึง ชำระหนี้ตามปกติ จ่ายครบ จ่ายตรงตามเงื่อนไข ไม่มียอดค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 30 วัน
11 หมายถึง ปิดบัญชีสินเชื่อแล้ว ไม่มีหนี้ค้าง
12 หมายถึง เคยชำระหนี้ แต่ได้พักชำระหนี้ตามนโยบายรัฐ
20 หมายถึง หนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน เป็นสถานะที่ส่งผลเสียต่อลูกหนี้ในการขอสินเชื่อต่อไป
30 หมายถึง อยู่ในกระบวนการทางกฏหมาย
31 หมายถึง อยู่ในระหว่างชำระหนี้ตามคำพิพากษา ตามยอม
32 หมายถึง ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากขาดอายุความ
33 หมายถึง ปิดบัญชี เนื่องจากตัดเป็นหนี้สูญ
40 หมายถึง อยู่ระหว่างชำระสินเชื่อ เพื่อปิดบัญชี
41 หมายถึง เจ้าของข้อมูลขอตรวจสอบรายการ
42 หมายถึง โอนหรือขายหนี้
43 หมายถึง โอนขายหนี้ และชำระหนี้เสร็จสิ้น
สำหรับคนที่ประวัติเครดิตบูโรไม่ดี แต่อยากกู้เงิน อยากจะแก้ประวัติเครดิตบูโร จะทำอย่างไรได้บ้าง
1.ตรวจสอบเครดิตบูโรของตนเองก่อน
เพราะที่ผ่านมาเคยเกิดความผิดพลาดในรายงานเครดิตบูโร และส่งผลต่อเครดิตของเจ้าของโดยที่ไม่รู้ตัว และเราไม่ได้ค้างชำระหนี้ แต่เป็นความผิดพลาดของสถาบันการเงิน เพื่อป้องกันเหตุนี้ เราจึงควรยื่นเรื่องขอดูรายงานเครดิตบูโรอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและสิทธิประโยชน์ของตัวเราเอง
2.แก้เครดิตบูโรที่ผิดพลาด
หากเจอข้อผิดพลาดที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ต้องทำการยื่นเรื่องขอแก้เครดิตบูโรทันที โดยรวบรวมหลักฐานทางการเงิน ยื่นเรื่องแก้ไขกับทางเครดิตบูโร เป็นการยืนยันว่าข้อผิดพลาดนั้นๆไม่เป็นความจริง
3.วางแผนการชำระหนี้สิน
หากเราเป็นหนี้เยอะ จนทำให้ประวัติเครดิตบูโรไม่ดี สิ่งที่เราต้องทำคือหาทางชำระหนี้ ปรึกษาและหามาตรการช่วยเหลือจากธนาคาร เช่นการรีไฟแนนซ์ การปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อทำให้ประวัติทางการเงินของเราสวยงาม เพื่อที่สถาบันการเงินจะได้อนุมัติให้เราได้ง่ายขึ้น
สำหรับวิธีการตรวจเครดิตบูโรนั้นก็มีหลายช่องทาง ได้แก่
1.ศูนย์ตรวจเครดิตบูโรในกทม. เพียงแค่ยื่นบัตรประชาชน ก็จะรับรายงานได้ภายใน 15 นาที ค่าบริการ 100 บาท
2.ยื่นเรื่องทางแอป TMB Touch ส่งทางอีเมล์ ค่าบริการ 150 บาท ภายใน 3 วันทำการ
3.ติดต่อเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรี, กรุงไทย, ธนชาต, ธอส, แลนด์แอนด์เฮาส์ หรือทำรายการผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ แล้วส่งทางไปรษณีย์ ค่าบริการ 150 บาท ภายใน 7 วันทำการ
ซึ่งตรวจสอบรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์เครดิตบูโร www.ncb.co.th และ facebook.com/ilovebureau
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดีที่สุด คือการมีวินัยทางการเงิน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว และไม่สร้างหนี้ หรือชำระหนี้อย่างตรงเวลา เพื่อให้ข้อมูลเครคิตบูโรของเราใสสะอาด ไม่ติดแบล็คลิสต์อย่างที่เราเคยได้ยินกันนั่นเอง

ชี้ช่องทางธุรกิจ พลิกชีวิต รอดไปด้วยกัน! ทุกวันอังคารพฤหัสบดี เวลา 18.30 น.
รอดไปด้วยกัน รอดไปด้วยกันเศรษฐกิจชาวบ้าน ทินโชคกมลกิจ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://ch3thailandnews.bectero.com/news/217373

สอนวิธีล้างแบล็คลิสต์ เครดิตบูโร ลบประวัติเน่า ต้องทำอย่างไร? #รอดไปด้วยกัน

การวิเคราะห์งบการเงิน


ตัวอย่างการวิเคราะห์งบการเงินแบบแนวนอนหรืองบการเงินเปรียบเทียบโดยละเอียด
การวิเคราะห์งบแสดงฐานะทางการเงินเปรียบเทียบ ในปี 2561 และปี 2562 ของบริษัทเอ็มวิชั่น จำกัด (มหาชน) ผลการเปรียบเทียบแสดงให้เห็นถึงรายการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้ ในปี 2562 พบว่าสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการเพิ่มขึ้น จำนวน 5,940,369 บาท ซึ้งคิดเป็นร้อยละ 2.66 ในภาพรวมกิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของกิจการลดลงไปเป็น จำนวน 27,837,518 บาท คิดเป็นร้อยละ 66.43 ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเงินฝากสถาบันการเงินประเภทออมทรัพย์เป็นหลัก เงินลงทุนชั่วคราวลดลง 23,138,518 บาท คิดเป็นร้อยละ 99.99 จะเห็นได้ว่าลดลงเป็นเท่าตัวเนื่องจากมีการจำหน่ายเงินลงทุนเพื่อค้าทั้งจำนวน มีเงินฝากธนาคารที่ติดภาระหลักประกันที่ถึงกำหนดไถ่ถอนในหนึ่งปี เพิ่มขึ้นจำนวน 4,790,000 คิดเป็นร้อยละ 100.00 เป็นส่วนของการนำเงินฝากธนาคารเป็นหลักประกันสินเชื่อกับธนาคารในประเทศสองแห่งซึ่งเป็นหลักประกันส่วนที่ไถ่ถอนภายในหนึ่งปี ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 44,536,069 บาท คิดเป็นร้อยละ 30.05 เป็นผลมากจากกิจการมีลูกหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแต่ยังไม่สามารถเรียกเก็บได้ สินค้าคงเหลือของกิจการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 5,607,047 บาท คิดเป็นร้อยละ 176.16 เกิดจากการที่กิจการขายสินค้าได้ช้าลงจากปีก่อนทำให้มียอดสำค้าคงเหลือเพิ่มมากขึ้น สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น 1,983,307 บาท คิดเป็นร้อยละ 29.57
และกิจการมีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 33,929,528 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.34 โดยประกอบด้วยเงินลงทุนในบริษัทร่วม และบริษัทย่อยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 1,999,995 บาทและ 5,149,980 บาท คิดเป็นร้อยละ 100 ที่ดินอาคารและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 19,620,849 คิดเป็นร้อยละ 26.61 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเพิ่มขึ้น 396,476 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.84 สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีลดลง เป็นจำนวน 6,827,957 บาท คิดเป็นร้อยละ 43.32 ภาษีเงินได้รอขอคืนเพิ่มขึ้น 7,650,041 บาท คิดเป็นร้อยละ 83.29 มีเงินมัดจำและเงินประกันลดลง เป็นจำนวนเงิน 225 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.02
โดยสรุปพบว่าบริษัทมีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 33,929,528 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.34 โดยเมื่อเปรียบเทียบรายการพบว่ากิจการมีสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นโดยส่วนใหญ่ และลดลงในบางรายการโดยกิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนคือสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือเงินฝากธนาคารที่ติดภาระหลักประกันที่ถึงกำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี และลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นตามลำดับ และกิจการมีเงินลงทุนชั่วคราวลดลงมากที่สุด รองลงมาคือเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือเงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อย รองลงมาคือภาษีเงินได้รอขอคืน และที่ดินอาคารและอุปกรณ์ตามลำดับ โดยมีสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีลดลงมากที่สุด รองลงมาคือเงินมัดจำและเงินประกัน
เมื่อวิเคราะห์เปรียบหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นพบว่าหนี้สินรวมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 5,107,915 บาท คิดเป้นร้อยละ 2.68 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้หนี้สินหมุนเวียนของกิจการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 10,704,480 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.63 ซึ่งมีรายละเอียดประกอบด้วยเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น 20,900,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 100 เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นลดลงเป็นจำนวน 16,749,135 บาท เจ้าหนี้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2,549,985 บาท คิดเป็นร้อยละ 100 เงินกู้ยืมระยะยาวส่วนที่ครบกำหนดชำระในหนึ่งปีลดลงเป็นจำนวน 767,129 บาท คิดเป็นร้อยละ 15.18 เงินกู้ยืมระยะยาวส่วนที่จัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน ลดลงทั้งจำนวนคือ 4,274,775 บาท คิดเป็นร้อยละ 100 หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงินส่วนที่ครบกำหนดชำระในหนึ่งปี เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 5,041,129 บาท คิดเป็นร้อยละ 74.03 หนี้สินหมุนเวียนอื่น เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 4,004,405 บาท คิดเป็นร้อยละ 152.56 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
กิจการมีหนี้สินไม่หมุนเวียนรวมลดลงเป็นจำนวน 5,596,565 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.43 ซึ้งประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้เจ้าหนี้การค้าไม่หมุนเวียนลดลง 16,000,000 บาท ซึ่งเกิดการชำระหนี้ที่ครบกำหนดภายใน 1 ปี เงินกู้ยืมระยะยาวลดลงเป็นจำนวน 14,879 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.17 หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงินเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 6,958,438 บาท คิดเป็นร้อยละ 43.57 ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 3,459,876 บาท คิดเป็นร้อยละ 45.74
กิจการมีส่วนของผู้ถือหุ้นรวมเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 28,821,613 บาท คิดเป็นร้อยละ 20.93 โดยทุนเรือนหุ้นของกิจการไม่มีการเปลี่ยนแปลง กำไร(ขาดทุน)ส่วนที่ยังไม่ได้จัดสรรลดลงเป็นจำนวน 28,821,613 บาท คิดเป็นร้อยละ 56.08
ในภาพรวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 33,929,528 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.34 โดยหนี้สินหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือหนี้สินหมุนเวียนอื่น รองลงมาคือเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินและเจ้าหนี้เงินลงทุน และหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงินส่วนที่ครบกำหนดชำระในหนึ่งปีตามลำดับ และหนี้สินไม่หมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน รองลงมาคือหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากิจการมีสินทรัพย์ และหนี้สินเพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกัน และมีส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นจากการจัดสรรกำไรตามกฎหมายลดลงในปี 2562 แสดงให้เห็นว่ากิจการสามารถบริหารการดำเนินงานได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ By อ.สุวรรณา สุวรรณศิลป์

การวิเคราะห์งบการเงิน

แนวทางการปิดบัญชีและออกงบการเงิน


รายการอาจารย์มานพพบปัญหา 102 สถาบันYellowการบัญชี www.yellowaccounting.com โดย อ.มานพ สีเหลือง

แนวทางการปิดบัญชีและออกงบการเงิน

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่BUSINESS & INVESTMENT tại đây

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *