Skip to content
Home » ค่าโอนที่ดินมรดกจะต้องจ่ายยังไง อยากโอนที่ดินมรดกต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง | มรดก หมาย ถึง

ค่าโอนที่ดินมรดกจะต้องจ่ายยังไง อยากโอนที่ดินมรดกต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง | มรดก หมาย ถึง

ค่าโอนที่ดินมรดกจะต้องจ่ายยังไง อยากโอนที่ดินมรดกต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ค่าโอนที่ดินมรดกจะต้องจ่ายยังไง อยากโอนที่ดินมรดกต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง
สวัสดีครับวันนี้ผมจะชวนทุกคุณมาคุยถึงอีก 1 หัวข้อสำคัญมากๆเกี่ยวกับเรื่อง การโอนที่ดินมรดก ครับ ที่ดินแบบไหนที่เขาจะเรียกว่าเป็นที่ดินมรดกเคยสงสัยกันบ้างไหมครับและค่าใช้จ่ายเวลาเราไปโอนจะมีค่าใช้จ่ายตัวไหนที่เราจะต้องเตรียมความพร้อมและวางแผนจัดสรรการเงินไว้บ้างเดี๋ยววันนี้จะค่อยเล่าให้ทุกคนฟังกันนะครับ

ที่ดินมรดกคืออะไร
ที่ดินที่เราจะเรียกได้ว่าเป็นที่ดินมรดกนะครับจะต้องเป็นที่ดินที่เจ้าของคนเก่าเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งถ้าเสียชีวิตไปแล้วเนี่ยกรรมสิทธิ์ของที่ดินผืนนั้นหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นนะเนี่ยก็จะตกทอดไปสู่ทายาทเป็นลำดับไหมครับ ดังนั้นการที่เราจะเรียกว่า ที่ดินผืนนั้นบ้านหลังนั้นเป็นมรดกหรือเปล่าข้อแรกเลยเนี่ยคือเจ้าของเดิมจะต้องเสียชีวิตไปแล้วนะครับถ้าเกิดว่ายังมีชีวิตอยู่แล้วโอนให้กันเนี่ยแบบนี้ไม่เรียกว่าการโอนมรดกให้กันนะครับ

ใครมีสิทธิในมรดกบ้าง
ที่นี้มีคำถามตอบมาครับว่าถ้าเจ้าของเดิมเขาเสียชีวิตแล้วเนี่ยใครล่ะจะมีสิทธิ์ในมรดกบนที่ดินผืนนั้นกันบ้างนะครับ แน่นอนครับว่าจะต้องมีเกณฑ์การพิจารณาอยู่แล้วนะว่าลำดับทายาทของการได้รับมรดกต้องแตกต่างกันไปครับและผมขออนุญาตแบ่งเป็น 2 เกณฑ์หลักก่อนนะครับ
ไม่ได้ทำพินัยกรรม
เจ้าของมรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้สิทธิ์ในการได้รับมรดก จะดูตามทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมครับ แบ่งออกมาเป็นลำดับดังต่อไปนี้ครับ
1.ผู้สืบสันดาน(บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ)
2.ภรรยาหรือสามี (ต้องได้จดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น)
3.บิดาและมารดา
4.พี่น้องร่วมสายเลือด ทั้งบิดาและมารดาเดียวกัน
5.พี่น้องร่วมบิดา หรือ มารดาเดียวกัน
6.ปู่ย่า ตายาย
7.ลุง ป้า น้า อา
สิทธิในการรับมรดกก็จะคิดตามลำดับกันมาแบบนี้ครับ
สำหรับส่วนแบ่งมรดกของญาติโดยธรรมตามที่ผมบอกไปด้านบนนี้นะครับมีหลักอยู่ว่า
ญาติลำดับเดียวกัน จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน
กระบวนการโอนที่ดินหรือบ้านตรงนี้นะครับก็จะเหมือนกับกระบวนการโอนตามปกตินะครับคือเราต้องไปทำที่กรมที่ดินครับ แต่ที่จะแตกต่างกันก็คือเรื่องค่าใช้จ่ายในการโอนครับ
ถ้าเป็นทรัพย์สินที่เรามีการซื้อขายกันตามปกติค่าโอนก็จะเป็นไปตามที่ผมเคยได้อธิบายไปในคลิปก่อนหน้านี้แล้วนะครับจะมี 5 ตัวหลักๆ
1. ค่าธรรมเนียมการโอน
2. ค่าจดจำนอง
3. ค่าอากรแสตมป์
4. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
5.ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สามารถย้อนกลับไปดูในคลิปได้ที่ https://youtu.be/KMUqp0_YITQ

แต่ในกรณีที่เป็นการโอนที่ดินมรดกจะแตกต่างกันออกไปครับ ในกรณีที่เราโอนที่ดินมรดกจะเหลือค่าใช้จ่ายตัวใหญ่ๆอยู่แค่ตัวเดียวเท่านั้นครับคือค่าธรรมเนียมการโอน ที่จะคิดอยู่ร้อยละ จากราคาประเมินกรมที่ดินครับ
แต่นะครับตรงนี้สำคัญมากๆถ้าเราเป็นบุตรตามกฎหมาย หรือที่ทางกฎหมายเขาจะเรียกว่าผู้สืบสันดานครับ คือถ้าเราเป็นลูกของผู้เสียชีวิตหรือเราเป็นคู่สมรส ค่าโอนจาก 2% จะเหลือแค่ 0.5% เท่านั้นเองครับซึ่งลดลงไปเยอะมากๆเลยนะครับ
และนอกเหนือจากค่าโอนที่เป็นค่าใช้จ่ายหลักที่ผมได้พูดไปแล้วเนี่ยก็จะมีค่าใช้จ่ายยิบย่อยอื่นๆอีกครับยกตัวอย่างเช่น
ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
ค่าประกาศมรดก แปลงละ 10 บาท

เดี๋ยวผมขอเพิ่มเติมให้หน่อยละกันนะครับว่าสำหรับใครนะที่จะไปโอนมรดกกันที่กรมที่ดินเนี่ยจะต้องมีเอกสารอะไรที่จะต้องเตรียมตัวไปบ้างนะครับในส่วนนี้ผมนำข้อมูลมาจากเว็บไซต์ของกรมที่ดินนะครับ

หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์
บัตรประจำตัว
ทะเบียนบ้าน
หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณบัตร พินัยกรรม (ถ้ามี)
ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร
กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง
ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้น ๆ

อีกตัวนึงนะครับตรงนี้อาจจะมีผลเฉพาะคนที่ได้รับมรดกมาเป็นที่ดินที่มีมูลค่าเยอะๆอาจจะต้องระวังเรื่องค่าใช้จ่ายอีก 1 ตัวนะครับค่าใช้จ่ายตัวนั้นคือ ภาษีมรดก ครับตรงนี้ในคลิปนี้ผมขออนุญาตยังไม่ลงดีเทลแล้วกันนะครับแต่ให้เข้าใจง่ายๆว่าภาษีมรดกจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมูลค่าของมรดกนั้นมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาทครับ คิดจากราคาประเมินนะครับ ในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทจะเริ่มมีการคิดภาษีมรดกเข้ามาแล้วนะครับดังนั้นเอาเป็นว่าถ้ามูลค่าของมรดกที่เราได้รับมาไม่เกิน 100 ล้านในส่วนภาษีมรดกเรายังไม่ต้องไปกังวลนะครับเราไม่มีหน้าที่ต้องเสียครับเป็นประมาณนี้

ดังนั้นมาสรุปอีกทีก่อนจากกันไปนะครับสำหรับเรื่องการโอนที่ดินมรดกนะครับเรื่องแรกต้องดูก่อนว่าเจ้าของมรดกได้ทำพินัยกรรมไว้หรือเปล่านะครับถ้าทำก็ไปดูว่าพินัยกรรมนั้นกำหนดให้ใครเป็นผู้มีสิทธิ์ในมรดกผืนนั้นนะครับก็ว่ากันไปตามพินัยกรรมส่วนที่ 2 ถ้าเกิดว่าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้เนี่ยก็มาดูลำดับทายาทนะครับตามที่ผมได้พูดไปแล้วในช่วงต้นคิดนะว่าใครมีสิทธิ์เท่าไหร่นะฮะแบ่งกันไปจากนั้นก็ถึงกระบวนการโอนที่กรมที่ดินครับ สำหรับที่ดินมรดกนะครับการโอนเนี่ยจะจ่ายเฉพาะค่าโอนตัวเดียวเท่านั้นนะครับที่เป็นค่าใช้จ่ายตัวใหญ่ๆหลักๆนะฮะซึ่งถ้าเราเป็นลูกหรือคู่สมรสเนี่ยค่าโอนก็จะเหลือแค่ 0.5 เปอร์เซ็นต์นะครับเป็นประมาณนี้เองนะคะสำหรับเรื่องการโอนที่ดินมรดกครับ

มรดก ที่ดินมรดก โอนที่มรดก โอนมรดก ที่ดินมรดกโอน พ่อโอนมรดก โอนที่ดิน โอนบ้าน

ค่าโอนที่ดินมรดกจะต้องจ่ายยังไง อยากโอนที่ดินมรดกต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง

อัพเดทรถไฟความเร็วสูง : กรุงเทพ- เชียงใหม่


รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ เชียงใหม่

อัพเดทรถไฟความเร็วสูง : กรุงเทพ- เชียงใหม่

การรับมรดกแทนที่ คืออะไร ใครมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่


การรับมรดกแทนที่ คืออะไร ใครมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่
มาตรา ๑๖๓๙ ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๑) (๓) (๔) หรือ (๖) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย
มาตรา ๑๖๔๐ เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความในมาตรา ๖๕ แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้มีการรับมรดกแทนที่กันได้
มาตรา ๑๖๔๑ ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๒) หรือ (๕) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้ามีทายาทในลำดับเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้ส่วนแบ่งทั้งหมดตกได้แก่ทายาทนั้นเท่านั้น ห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป
มาตรา ๑๖๔๒ การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม
มาตรา ๑๖๔๓ สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่
มาตรา ๑๖๔๔ ผู้สืบสันดานจะรับมรดกแทนที่ได้ต่อเมื่อมีสิทธิบริบูรณ์ในการรับมรดก
มาตรา ๑๖๔๕ การที่บุคคลใดสละมรดกของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้น ไม่ตัดสิทธิของผู้สละที่จะรับมรดกแทนที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นในการสืบมรดกบุคคลอื่น
บุตรบุญธรรมไม่ใช้ผู้สืบสันดานโดยสายโลหิตจึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ได้ แต่บุตรของบุตรบุญธรรม ย่อมรับมรดกแทนที่กันได้

การรับมรดกแทนที่ คืออะไร ใครมีสิทธิ์รับมรดกแทนที่

5 มรดกโลกในประเทศไทย


แหล่งมรดกโลก คือพื้นที่ซึ่งได้รับการคัดเลือก จากองค์การยูเนสโก (UNESCO) เพราะมีลักษณะความสำคัญทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ที่มีประโยชน์โดยรวมต่อมนุษยชาติ โดยข้อมูลล่าสุดระบุว่า ทั่วโลกมีพื้นที่ ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นมรดกโลก 1,121 แห่ง แบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 869 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 213 แห่ง และพื้นที่ผสมผสานทั้งวัฒนธรรมและธรรมชาติอีก 39 แห่ง โดยในจำนวนนี้ รวมถึงแหล่งมรดกโลกในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เราจะนำเสนอในวันนี้ 5 มรดกโลกในประเทศไทย
ติดต่อ/copyright
[email protected]

5 มรดกโลกในประเทศไทย

เจ้าของมรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมใครจะได้รับมรดก


เจ้าของมรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมใครจะได้รับมรดก

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่BUSINESS & INVESTMENT tại đây

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *